วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561

พ่อจ่าดำ คุ้มภัย ดับไฟใต้



จ่าดำ,พ่อจ่าดำ,เจ้าพ่อดำ หรือ “อนุสาวรีย์วีรไทย” ตั้งอยู่ภายในค่ายวชิราวุธ กองทัพภาคที่ 4 ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
---------------------------------
อนุสาวรีย์ “พ่อจ่าดำ” หล่อด้วยทองแดงรมดำ เป็นรูปทหารยืนจับปืนติดดาบเตรียมแทง ขนาดเท่าครึ่งของคนจริง หันหน้าไปทางทิศเหนือ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับ ยุวชนทหารและทหารไทย ที่เสียชีวิตจากการรบกับทหารญี่ปุ่นใน “สงครามมหาเอเซียบูรพา” หรือคนปักษ์ใต้พูดกันในนาม “สงครามญี่ปุ่น” เมื่อ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ.2484 (ประวัติและรายละเอียดต่างๆสามารถ หาอ่านได้ตามเว็ปไซต์)

พ่อจ่าดำ” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง ให้ความเคารพนับถือ เป็นอย่างมาก มีการบนบานศาลกล่าว ขอสิ่งที่ต้องการจาก “พ่อจ่าดำ” บ่อยๆ จะเห็นได้ว่าทุกๆวันอังคารและวันเสาร์ จะมีคนมาทำพิธีแก้บนอยู่เสมอ หรือวันปกติ ก็จะมีประชาชนมาสักการะ กราบไหว้ ขอพร เพื่อเป็นศิริมงคล อยู่มิได้ขาด

โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ถ้าเป็น ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร ก็จะยิ่งมีความ ศรัทธา ต่อ “พ่อจ่าดำ” สูงมาก ต่างเชื่อกันว่า จะให้คุณ ต่อหน้าที่ การงาน ความเจริญ รุ่งเรือง และแคล้วคลาด ปลอดภัย จากการปฏิบัติหน้าที่ต่างๆ ที่มีอันตราย เสี่ยงต่อชีวิต

จะเห็นได้ว่า มีผู้ที่มีศรัทธาต่อ “พ่อจ่าดำ”ได้จัดสร้าง เป็นวัตถุมงคล ออกมามากมาย หลายรุ่น หลายแบบ และแต่ล่ะรุ่น ต่างก็มีประสพการณ์ที่ดี ต่อผู้ที่ศรัทธา พกพานำท่านติดตัว ให้แคล้วคลาด ปลอดภัย จากอุบัติเหตุ และการต่อสู้ ดังที่ได้ยินได้ฟัง อยู่บ่อยๆ

ปี พ.ศ.2547 ทางสามจ้งหวัดชายแดน ภาคใต้ สถานการณ์ รุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ที่ปฏิบัติหน้าที่ อยู่ที่นั้น ได้สูญเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ พิการ เป็นจำนวนมาก จากการ สู้รบและถูกลอบทำร้าย จากฝ่ายตรงกันข้ามที่ไม่หวังดี ต่อชาติบ้านเมืองของเรา

ทางฝ่ายแนวหลังได้ตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันจัดสร้าง วัตถุมงคล “พ่อจ่าดำ” ขึ้นมาอีกครั้ง เรียกว่ารุ่น “พ่อจ่าดำ คุ้มภัย ดับไฟใต้” เพื่อมอบให้ ผู้ที่ปฏิบัติ ภาระกิจอยู่ที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ไว้บูชาเป็นขวัญและกำลังใจ ในการปฏิบัติหน้าที่รักษาความมั่นคงของชาติ และเพื่อให้ประชาชนทั่วไป ที่มีความนับถือศรัทธา ต่อ “พ่อจ่าดำ” ได้เช่าไว้บูชาด้วย...
-------------------------------

-------------------------------

โดยมีคณะกรรมการจัดสร้าง ทางฝ่ายทหาร คือ ท่านพลตรีปกิจ ดำริสถลมารค ผบ.มทบ.41 ร่วมกับ วัดท่ายายหนี และ คณะกรรมการ วัดมะม่วงทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช....
-------------------------------

---------------------------------
การเตรียมการจัดสร้าง เริ่มตั้งแต่ ประมาณกลางปี พ.ศ.2547 โดยร่วมกันออกแบบและกำหนด พิมพ์ทรง เนื้อหา มวลสาร เป็นที่เรียบร้อย จึงเริ่มรวบรวมมวลสาร และ ว่าน 108 ชนิด ที่มีความสำคัญต่อส่วนผสมของวัตถุมงคล ตลอดจนการเตรียมการ เลือกวัน ปลุกเสก อีกทั้งการนิมนต์ เกจิอาจารย์ ผู้มีพลังจิตแก่กล้า หลายองค์ หลายสำนัก อันเป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชนทั่วไป มาร่วมอธิฐานจิตปลุกเสก ในครั้งนั้น....
------------------------------


เนื้อพิเศษ สามเซียน สามพลัง ฝังราหู 1 ดอก
------------------------------


เนื้อสามเซียน ฝังราหู 1 ตะกรุดทอง 1
-----------------------------


เนื้อสามเซียน ฝังราหู 1ตะกรุดเงิน-ทอง
-----------------------------


เนื้อสามเซียน ฝังราหู 1 ตะกรุดนาค-เงิน-ทอง
-----------------------------

ด้านหลังฝังราหูทุกองค์

พิธีพุทธาภิเษก อันเข้มขลังและยื่งใหญ่ จึงเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 ณ.วัดมะม่วงทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร และประชาชนทั่วไปเข้าร่วม พิธีพุทธาภิเษก ในครั้งนี้ มืดฟ้า มัวดิน.

และหลังจาก ได้มอบแจกจ่าย ให้กับทหาร ทางสามจังหวัดชายแดนใต้ ไม่นาน ก็มีคำร่ำลือกลับมา มากมายเกี่ยวกับ ประสบการณ์ อิทธิปาฏิหารย์ ของ “พ่อจ่าดำ คุ้มภัย ดับไฟใต้” ที่ได้ช่วยให้ทหารเหล่านั้น รอดปลอดภัย จากการถูกซุ่มโจมตี และ การรบปะทะ กับฝ่ายตรงข้าม บ่อยครั้ง.

------------------------------------------------
มวลสารและพิมพ์ทรง

เมื่อได้ว่านและมวลสารต่างๆ ครบตามสูตรแล้ว ธรรมชาติของว่าน จะมาเป็นชิ้น เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง จึงจำเป็นจะต้องนำเข้าเครื่องบด ที่เป็นถังเหล็ก ที่มีรัศมีวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เมตร มีขาตั้งสูงประมาณ 1 เมตร เช่นกัน มีใบพัดเหล็กติดอยู่กับแกน ที่ต่อไปหามอเตอร์ไฟฟ้าอีกที พอนึกภาพออกน่ะครับ

เมื่อทำการบดมวลสารจนเป็นผงละเอียด ผสมผสาน เป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ก็นำออกมาใส่ภาชนะอื่น ต่อไปเป็นขั้นตอนของการทำให้มวลสารมีความเหนียวหนืด พอเหมาะพอดี ไม่แห้งจนเกินไปและไม่เละจนเกินไป โดยการผสมกาว,กล้วยน้ำว้า,น้ำมันตังอิ้ว,สีต่างๆและน้ำหอมกลิ่นต่างๆ ตามต้องการ ต่อจากนั้น ก็เข้าแท่นปั๊ม, เมื่อปั๊มออกมาเป็นรูปวัตถุมงคลแล้ว จึงนำไปตากแดดหรืออบให้แห้งสนิท เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการผลิต พร้อมที่จะนำไปเข้าพิธี พุทธาภิเศก ต่อไป...
---------------------------------------------

ภาพแท่นปั๊ม ซึ่งใช้แรงคนอย่างเดียว และสมัยนั้นนิยมให้พระชั้นผ้ใหญ่ ปั๊มโชว์ก่อนพิธีพุทธาภิเศก กันทุกรุ่น เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ ว่า ของแท้ ของจริง
----------------------------------------------

สำหรับรุ่น “พ่อจ่าดำ คุ้มภัย ดับไฟใต้” ใช้ทหารจาก กองทัพภาคที่4 และกรรมการ ลูกศิษย์ลูกหาของ “วัดท่ายายหนี” ช่วยกันปั๊ม ซึ่งใช้เวลาพอสมควร กว่าจะได้ครบตามจำนวนที่ต้องการ

---------------------------------------------


ทำความรู้จักกับประเภทของพระเครื่อง
เรื่องของความเชื่อนั้นไม่สามารถไปห้ามกันได้ บางคนอาจจะมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระหรืองมงายและต่างสงสัยว่าสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์จริงๆหรอ ก็นั่นแหละความเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล ขอเพียงไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็พอ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับประเภทของพระเครื่องที่เราเห็นๆกันอยู่ว่ามีประเภทไหนบ้าง
                ซึ่งการสร้างพระเครื่องนั้นมีเพื่อเป็นของสะสมหรือเป็นที่ระลึกสำหรับผู้ที่ช่วยทำบุญหรือสมทบทุนสร้างโบสถ์หรือวิหาร และยังเป็นเครื่องวัตถุที่ช่วยเสริมกำลังใจรวมไปถึงยังเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ต่อไป
                อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า พระเครื่องนั้นคือ เครื่องรางของขลังที่ใช้ยึดเหนี่ยวจิตใจมาตั้งแต่สมัย 1,000-2,000 ปีที่แล้ว ซึ่งมีหลักฐานว่าในประเทศไทยนั้นเริ่มนิยมกันในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยการนำมาห้อยคอ และปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เราจะเห็นแผงพระเครื่องเต็มไปหมด และมีเหล่าเซียนพระมากมาย ส่วนประเภทของพระเครื่องนั้นหลักๆได้แบ่งเอาไว้ดังนี้
1.พระเนื้อผง
                พระเครื่องเนื้อผงนั้นเป็นที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ถือเป็นพระที่สร้างในยุคหลัง โดนพระคณาจารย์และผู้มีบารมีหรือวิชาต่างๆ หรือว่าจะมาจากโรงงานที่ปั้มออกมาตามที่ต้องการได้ ที่หากยากๆและมีราคาแพงคือ พระเนื้อผงวัดรังสีสุทธวาส, พระเนื้อผงกรุวัดพลับ และพระที่สร้างโดยสมเด็จพุฒจารยโต พรหมรังสี ที่มีการทำของปลอมออกมากันค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นจะเช่าพระต้องดูให้ดี
2.พระเนื้อดิน
                พระเครื่องเนื้อดิน จัดเป็นพระที่สร้างมาตั้งแต่ยุคโบราณ สร้างด้วยเนื้อดินซึ่งส่วนผสมนั้นมีหลายอย่าง แล้วแต่วัดนั้นๆ พระเนื้อดินที่ดังๆ ได้แก่ พระขุนแผน, พระร่วง, พระรอด
3.พระเนื้อชิน
                พระเนื้อชินเป็นพระที่มีความหลากหลายทางพุทธศิลป์ และพบได้ทั่วไป ทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นพระที่พบเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ถูกบรรจุกรุและมีการจำแนกออกไป และเป็นพระที่เป็นพระเนื้อโลหะอ่อนๆผสมกัน เช่นเงิน ทอง จ้าวน้ำเงิน ตะกั่วเถื่อนผสมกัน เช่น พระร่วง เล่น goldenslot
4.พระเนื้อว่าน
                พระเนื้อว่าน นั้นทำมาจากพืชสมุนไพรหลากหลายชนิด ซึ่งได้นำมาตากให้แห้งและทำการสับให้ละเอียด รวมไปถึงยังมีส่วนผสมของดินเหนียว และส่วนผสมอื่นๆอีกหลายอย่าง ซึ่งความทนทานนั้นค่อนข้างน้อยจริงไม่ค่อยเท่าไหร่
5.พระเหรียญ
                พระเหรียญเป็นวัตถุมงคลที่พบเห็นในปัจจุบันมากที่สุด ซึ่งแน่นอนว่าวิธีการทำส่วนผสมไม่ได้หากยากเหมือนประเภทอื่นๆ ทำให้มีการปลอมแปลงหรือปั้มออกมาค่อนข้างเยอะ ว่ากันว่าวิธีการดูให้สังเกตุด้วยตาเปล่าว่าเหรียญนั้นมีตำหนิบวม, นูน ผิดธรรมชาติจากแบบเดิมหรือไม่